ท่านศาสตราจารย์ ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ ได้แบ่ง “ระบบ” ของการปกครองในปัจจุบันนั้น เป็น 4 ระบบ (system) คือ
(1) ระบบประธานาธิบดี (presidential system) (สหรัฐอเมริกา)
(2) ระบบรัฐสภา (parliamentary system) มี 2 รูปแบบ
(ก) แบบที่พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง เช่น ประเทศอังกฤษที่ใช้ “จารีตประเพณีตามรัฐธรรมนูญ – constitutional convention” โดยไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร (กลุ่มการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภาจะเป็นฝ่ายบริหารในขณะเดียวกัน)
(ข) แบบที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจเป็นฝ่ายบริหาร เช่น ประเทศ เดนมาร์ก
(3) ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองพรรคเดียว (พรรคคอมมิวนิสต์) เช่น ประเทศจีน และเวียดนาม
(4) ระบบผสม (hybrid system) มี 2 แบบ คือ
- ระบบกึ่งรัฐสภา เช่น ประเทศเยอรมัน
- ระบบกึ่งประธานาธิบดี เช่น ประเทศฝรั่งเศส และเกาหลีใต้
ในบรรดา 4 ระบบ ดังกล่าวนี้
- ระบบประธานาธิบดี / ระบบรัฐสภา / ระบบผสม ในทางวิชาการเรียกว่า “ระบอบเสรีประชาธิปไตย”
- ระบบเผด็จการโดยพรรคคอมมิวนิสต์ เรียกตนเองว่า เป็น “ระบอบสังคมนิยมประชาธิปไตย”
------------------------------------------------------------------------------------
ขอบพระคุณเนื้อหาจาก Pub-law.net ครับ
วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2551
วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551
การพระราชทานอภัยโทษ ( Pardon or Grace )
หมายถึงการยกเว้นโทษให้ทั้งหมด หรือบางส่วน หรือลดหย่อนผ่อนโทษลงไปแก่นักโทษผู้ที่ต้องคำพิพากษาให้รับโทษนั้นโดยยังถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดและเคยต้องคำพิพากษา
การพระราชทานอภัยโทษเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ การต้องโทษจะมีได้ก็โดยคำพิพากษาของศาลซึ่งทำในนามพระมหากษัตริย์
ดังนั้น การพระราชทานอภัยโทษจึงเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ อันนับเนื่องในพระมหากรุณาธิคุณส่วนหนึ่ง การพระราชทานอภัยโทษนั้นจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีผู้ร้องขอหรือถวายเรื่องต่อพระมหากษัตริย์ และใช้เมื่อคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้กระทำความผิดแล้วเท่านั้น ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ที่ได้รับการพระราชทานอภัยโทษนั้นไม่ต้องรับโทษอีกเลยหรือลดโทษให้มีการรับโทษแต่เพียงบางส่วน ทั้งนี้ผลของการพระราชทานอภัยโทษนั้นหาทำให้สิทธิต่างๆ ที่ต้องสูญเสียไปเพราะคำพิพากษากลับคืนมาไม่
ขั้นตอนการขอ
ผู้ต้องโทษ และผู้ที่มีประโยน์เกี่ยวข้องสามารถยื่นเรื่องราวทูลเกล้าถวายฎีกาขอพระราทานอภัยโทษผ่านเรือนจำ ทัณฑสถาน หรือกระทรวงยุติธรรม หรือสำนักราชเลขาธิการ
หลังจากรับเรื่องแล้วกรมราชทัณฑ์จะส่งไปสอบสวนเรื่องราวยังเรือนจำ ทัณฑสถานที่คสบคุมผู้ต้องโทษ จากนั้นจะเสนอความเห้นให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมลงนาม เพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลฯ ผ่านสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและสำนักราชเลขาธิการ เมื่อทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยเช่นไร ก็จะส่งผลฏีกาดังกล่าวให้กรมราชทัณฑ์ทราบและดำเนินการพร้อมทั้งแจ้งผลให้ผู้ยื่นเรื่องราวทูลเกล้าฯทราบต่อไป
การพระราชทานอภัยโทษเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ การต้องโทษจะมีได้ก็โดยคำพิพากษาของศาลซึ่งทำในนามพระมหากษัตริย์
ดังนั้น การพระราชทานอภัยโทษจึงเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ อันนับเนื่องในพระมหากรุณาธิคุณส่วนหนึ่ง การพระราชทานอภัยโทษนั้นจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีผู้ร้องขอหรือถวายเรื่องต่อพระมหากษัตริย์ และใช้เมื่อคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้กระทำความผิดแล้วเท่านั้น ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ที่ได้รับการพระราชทานอภัยโทษนั้นไม่ต้องรับโทษอีกเลยหรือลดโทษให้มีการรับโทษแต่เพียงบางส่วน ทั้งนี้ผลของการพระราชทานอภัยโทษนั้นหาทำให้สิทธิต่างๆ ที่ต้องสูญเสียไปเพราะคำพิพากษากลับคืนมาไม่
ขั้นตอนการขอ
ผู้ต้องโทษ และผู้ที่มีประโยน์เกี่ยวข้องสามารถยื่นเรื่องราวทูลเกล้าถวายฎีกาขอพระราทานอภัยโทษผ่านเรือนจำ ทัณฑสถาน หรือกระทรวงยุติธรรม หรือสำนักราชเลขาธิการ
หลังจากรับเรื่องแล้วกรมราชทัณฑ์จะส่งไปสอบสวนเรื่องราวยังเรือนจำ ทัณฑสถานที่คสบคุมผู้ต้องโทษ จากนั้นจะเสนอความเห้นให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมลงนาม เพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลฯ ผ่านสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและสำนักราชเลขาธิการ เมื่อทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยเช่นไร ก็จะส่งผลฏีกาดังกล่าวให้กรมราชทัณฑ์ทราบและดำเนินการพร้อมทั้งแจ้งผลให้ผู้ยื่นเรื่องราวทูลเกล้าฯทราบต่อไป
ประกาศคณะปฏิวัติเป็นกฎหมายหรือไม่
พิจารณาจากคำพิพากษาฎีกาด้านล่างครับ
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๖๒/๒๕๐๕
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่าร่วมกันกระทำผิดคดีนี้ในชั้นไต่สวน ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ เห็นว่า คดีมีมูลเฉพาะจำเลยที่ ๒ ส่วนจำเลยที่ ๑ ให้ยกฟ้อง คดีจึงดำเนินมาโดยมี ร.ต.อ.เสนีย์ตกเป็นจำเลยแต่ผู้เดียว โดยโจทก์ฟ้องว่าบังอาจกลั่นแกล้งจับกุมโจทก์มากักขังไว้ ๒๗ วัน ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗, ๓๑๐
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นเห็นว่า การกระทำของจำเลยที่จับโจทก์ โจทก์นำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาแกล้งทั้งจำเลยไม่ได้ทำให้โจทก์เสียเสรีภาพ พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า
เมื่อใน พ.ศ.๒๕๐๑ คณะปฏิวัติ ได้ทำการยึดอำนาจปกครองประเทศไทย ได้เป็นผลสำเร็จ หัวหน้าคณะปฏิวัติย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบ้านเมือง ข้อความใดที่หัวหน้าคณะปฏิวัติสั่งบังคับประชาชน ก็ต้องถือว่าเป็นกฎหมาย แม้พระมหากษัตริย์
จะมิได้ทรงตราออกมาด้วยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร หรือสภานิติบัญญัติของประเทศก็ตาม ฉะนั้นประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๒๑ ซึ่งประกาศคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติบังคับแก่ประชาชนดังกล่าว จึงเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในการปกครองในลักษณะเช่นนั้นได้ จำเลยจึงอาศัยอำนาจตามประกาศฉบับนี้ทำการจับกุมควบคุมโจทก์ได้โดยชอบ ฎีกาโจทก์ไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
------------------------------------------------------------------------------------
ดังนั้น จึงสามารถสรุปได้ว่า ประกาศคณะปฎิวัติเป็นกฎหมายครับ
อย่างไรก็ตาม ดูข้อสังเกตจากท่านมานิตย์ จิตรจันทร์กลับ (อดีตผู้พิพากษา) ได้ให้ความเห็นไว้น่าสนใจไว้ดังนี้
"ขอให้สังเกตว่า ศาลฎีกาพิพากษาคดีในขณะที่ประเทศไทยถูกปกครองด้วยระบอบเผด็จการทหาร ที่มีหัวหน้าคณะปฏิวัติเป็นประมุข ขอให้สังเกตข้อความที่ขีดเส้นใต้ไว้ ความว่า “จึงเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในการปกครองในลักษณะเช่นนั้นได้
คำว่า “การปกครองในลักษณะเช่นนั้น” จึงหมายถึง “การปกครองในระบอบเผด็จการ มิได้หมายความถึงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างแน่นอน” ซึ่งเป็นศิลปะในการใช้ถ้อยคำและข้อความในคำพิพากษา"
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๖๒/๒๕๐๕
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่าร่วมกันกระทำผิดคดีนี้ในชั้นไต่สวน ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ เห็นว่า คดีมีมูลเฉพาะจำเลยที่ ๒ ส่วนจำเลยที่ ๑ ให้ยกฟ้อง คดีจึงดำเนินมาโดยมี ร.ต.อ.เสนีย์ตกเป็นจำเลยแต่ผู้เดียว โดยโจทก์ฟ้องว่าบังอาจกลั่นแกล้งจับกุมโจทก์มากักขังไว้ ๒๗ วัน ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗, ๓๑๐
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นเห็นว่า การกระทำของจำเลยที่จับโจทก์ โจทก์นำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาแกล้งทั้งจำเลยไม่ได้ทำให้โจทก์เสียเสรีภาพ พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า
เมื่อใน พ.ศ.๒๕๐๑ คณะปฏิวัติ ได้ทำการยึดอำนาจปกครองประเทศไทย ได้เป็นผลสำเร็จ หัวหน้าคณะปฏิวัติย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบ้านเมือง ข้อความใดที่หัวหน้าคณะปฏิวัติสั่งบังคับประชาชน ก็ต้องถือว่าเป็นกฎหมาย แม้พระมหากษัตริย์
จะมิได้ทรงตราออกมาด้วยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร หรือสภานิติบัญญัติของประเทศก็ตาม ฉะนั้นประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๒๑ ซึ่งประกาศคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติบังคับแก่ประชาชนดังกล่าว จึงเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในการปกครองในลักษณะเช่นนั้นได้ จำเลยจึงอาศัยอำนาจตามประกาศฉบับนี้ทำการจับกุมควบคุมโจทก์ได้โดยชอบ ฎีกาโจทก์ไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
------------------------------------------------------------------------------------
ดังนั้น จึงสามารถสรุปได้ว่า ประกาศคณะปฎิวัติเป็นกฎหมายครับ
อย่างไรก็ตาม ดูข้อสังเกตจากท่านมานิตย์ จิตรจันทร์กลับ (อดีตผู้พิพากษา) ได้ให้ความเห็นไว้น่าสนใจไว้ดังนี้
"ขอให้สังเกตว่า ศาลฎีกาพิพากษาคดีในขณะที่ประเทศไทยถูกปกครองด้วยระบอบเผด็จการทหาร ที่มีหัวหน้าคณะปฏิวัติเป็นประมุข ขอให้สังเกตข้อความที่ขีดเส้นใต้ไว้ ความว่า “จึงเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในการปกครองในลักษณะเช่นนั้นได้
คำว่า “การปกครองในลักษณะเช่นนั้น” จึงหมายถึง “การปกครองในระบอบเผด็จการ มิได้หมายความถึงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างแน่นอน” ซึ่งเป็นศิลปะในการใช้ถ้อยคำและข้อความในคำพิพากษา"
วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2551
การชี้สองสถาน
การที่ศาลนัดคู่ความทุกฝ่ายมาแล้วนำคำฟ้องมาเปรียบเทียบกับคำให้การและสอบถามคู่ความถึงข้ออ้าง ข้อเถียง เพื่อจะได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดหน้าที่นำสืบว่าคู่ความฝ่ายใดมีหน้าที่นำสืบในประเด็นใดก่อนหรือหลัง ซึ่งในวันนัดนั้น ก่อนที่จะทำการชี้สองสถาน ศาลอาจทำการไกล่เกลี่ยให้คู่กรณีตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันก็ได้
วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2551
วิธีการเพื่อความปลอดภัย
วิธีการเพื่อความปลอดภัยเป็นมาตรการทางกฎหมายที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำความผิดในอนาคต
ดังนั้นวิธีการเพื่อความปลอดภัยจึงมีลักษณะที่แตกต่างจากโทษ ซึ่งอธิบายได้ว่า
โทษเป็นสภาพบังคับที่จะใช้แก่บุคคลภายหลังจากที่บุคคลนั้นได้กระทำความผิดแล้ว
ส่วนวิธีการเพื่อความปลอดภัยเป็นมาตรการที่นำมาใช้ก่อนที่จะมีการกระทำความผิดหรือมีการกระทำความผิดแล้วไม่ให้กลับมากระทำผิดอีก
1.กักกัน
การกักกันเป็นการป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้กระทำผิดที่ติดนิสัย ซึ่งมาตราการนี้จะทำให้บุคคลที่เคยกระทำความผิดมาแล้วไม่กล้าที่จะกระทำผิดซ้ำอีกเพราะเกรงกลัวว่าจะต้องถูกกักกัน อย่างไรก็ตาม ถ้าปรากฏว่าหากผู้กระทำผิดติดนิสัย กระทำผิดซ้ำอีกได้กระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งอีกภายใน 10 ปี ศาลอาจถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัย บุคคลนั้นอาจถูกกักกันได้
2.ห้ามเข้าเขตกำหนด
เมื่อศาลพิพากษาให้ลงโทษแล้ว ศาลเห็นสมควรว่า ผู้กระทำความผิดมีพฤติกรรมโน้มเอียงในการกระทำผิดในบางพื้นที่ ศาลอาจสั่งห้ามเข้าเขตที่กำหนดหลังพ้นโทษแล้วได้ ซึ่งมาตรการนี้เป็นการป้องกันให้บุคคลนั้นไม่ให้เข้าไปกระทำผิดในเขตนั้น ๆ อีก
3.เรียกประกันทัณฑ์บน
กรณีที่ศาลไม่ได้ลงโทษผู้ถูกฟ้อง แต่มีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ถูกฟ้องน่าจะก่อเหตุร้าย ศาลสามารถสั่งให้ทำทัณฑ์บนได้ มาตรการนี้เป็นการป้องกันผู้ที่มีความประพฤติโน้มเอียงที่จะประกอบอาชญากรรม ทำให้ผู้ที่มีความประพฤติโน้มเอียงนั้นไม่กล้าลงมือกระทำผิด เพราะเกิดความยับยั้งชั่งใจ
4.คุมตัวไว้ในสถานพยาบาล
บุคคลบางประเภทมีสภาพอาจจะกระทำผิดได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป อาจมีสาเหตุมาจากสภาพร่างกายและจิตใจหรือติดยาเสพติดให้โทษ และเพื่อเป็นการป้องกันให้บุคคลนั้นไม่ให้เข้าไปกระทำผิด ศาลอาจจะส่งตัวไปคุมไว้ในสถานพยาบาลเพื่อบำบัดรักษาให้บุคคลนั้นมีสภาพร่างกายและจิตใจเป็นปกติ
ตัวอย่าง นายเอกชอบดื่มเหล้าขาวเป็นอาจิณ และทุกครั้งที่ดื่มเหล้าขาว นายเอกจะทำร้ายร่างกายบิดา มารดาตนเองเป็นอาจิณ เช่นนี้ศาลอาจจะส่งตัวไปคุมไว้ในสถานพยาบาลเพื่อบำบัดรักษาอาการเหล้าได้
5.ห้ามการประกอบอาชีพบางอย่าง
เมื่อศาลพิพากษาให้ลงโทษและเห็นว่าผู้นั้นมีสภาพอาจจะกระทำผิดได้ง่ายเพราะการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพบางอย่าง ศาลอาจจะห้ามบุคคลดังกล่าวประกอบอาชีพหรือวิชาชีพเพื่อป้องกันให้ไม่มีโอกาสได้กลับมากระทำผิดเช่นนั้นได้อีก
ตัวอย่าง นายโทมีอาชีพเป็นเจ้าของโรงงานผลิตลูกชิ้น ได้ผลิตลูกชิ้นที่ใส่สารบอแรกซ์ ทำให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพอนามัยของประชาชน พฤติการณ์เป็นการกระทำผิดโดยอาศัยโอกาสจากการประกอบอาชีพผลิตผลิตลูกชิ้น ซึ่งหากให้นายโทประกอบอาชีพผลิตลูกชิ้นอีก ก็อาจกลับมากระทำผิดผลิตลูกชิ้นที่ใส่สารบอแรกซ์ เช่นนี้ จึงขอให้ศาลสั่งห้ามประกอบอาชีพผลิตลูกชิ้น
ดังนั้นวิธีการเพื่อความปลอดภัยจึงมีลักษณะที่แตกต่างจากโทษ ซึ่งอธิบายได้ว่า
โทษเป็นสภาพบังคับที่จะใช้แก่บุคคลภายหลังจากที่บุคคลนั้นได้กระทำความผิดแล้ว
ส่วนวิธีการเพื่อความปลอดภัยเป็นมาตรการที่นำมาใช้ก่อนที่จะมีการกระทำความผิดหรือมีการกระทำความผิดแล้วไม่ให้กลับมากระทำผิดอีก
1.กักกัน
การกักกันเป็นการป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้กระทำผิดที่ติดนิสัย ซึ่งมาตราการนี้จะทำให้บุคคลที่เคยกระทำความผิดมาแล้วไม่กล้าที่จะกระทำผิดซ้ำอีกเพราะเกรงกลัวว่าจะต้องถูกกักกัน อย่างไรก็ตาม ถ้าปรากฏว่าหากผู้กระทำผิดติดนิสัย กระทำผิดซ้ำอีกได้กระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งอีกภายใน 10 ปี ศาลอาจถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัย บุคคลนั้นอาจถูกกักกันได้
2.ห้ามเข้าเขตกำหนด
เมื่อศาลพิพากษาให้ลงโทษแล้ว ศาลเห็นสมควรว่า ผู้กระทำความผิดมีพฤติกรรมโน้มเอียงในการกระทำผิดในบางพื้นที่ ศาลอาจสั่งห้ามเข้าเขตที่กำหนดหลังพ้นโทษแล้วได้ ซึ่งมาตรการนี้เป็นการป้องกันให้บุคคลนั้นไม่ให้เข้าไปกระทำผิดในเขตนั้น ๆ อีก
3.เรียกประกันทัณฑ์บน
กรณีที่ศาลไม่ได้ลงโทษผู้ถูกฟ้อง แต่มีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ถูกฟ้องน่าจะก่อเหตุร้าย ศาลสามารถสั่งให้ทำทัณฑ์บนได้ มาตรการนี้เป็นการป้องกันผู้ที่มีความประพฤติโน้มเอียงที่จะประกอบอาชญากรรม ทำให้ผู้ที่มีความประพฤติโน้มเอียงนั้นไม่กล้าลงมือกระทำผิด เพราะเกิดความยับยั้งชั่งใจ
4.คุมตัวไว้ในสถานพยาบาล
บุคคลบางประเภทมีสภาพอาจจะกระทำผิดได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป อาจมีสาเหตุมาจากสภาพร่างกายและจิตใจหรือติดยาเสพติดให้โทษ และเพื่อเป็นการป้องกันให้บุคคลนั้นไม่ให้เข้าไปกระทำผิด ศาลอาจจะส่งตัวไปคุมไว้ในสถานพยาบาลเพื่อบำบัดรักษาให้บุคคลนั้นมีสภาพร่างกายและจิตใจเป็นปกติ
ตัวอย่าง นายเอกชอบดื่มเหล้าขาวเป็นอาจิณ และทุกครั้งที่ดื่มเหล้าขาว นายเอกจะทำร้ายร่างกายบิดา มารดาตนเองเป็นอาจิณ เช่นนี้ศาลอาจจะส่งตัวไปคุมไว้ในสถานพยาบาลเพื่อบำบัดรักษาอาการเหล้าได้
5.ห้ามการประกอบอาชีพบางอย่าง
เมื่อศาลพิพากษาให้ลงโทษและเห็นว่าผู้นั้นมีสภาพอาจจะกระทำผิดได้ง่ายเพราะการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพบางอย่าง ศาลอาจจะห้ามบุคคลดังกล่าวประกอบอาชีพหรือวิชาชีพเพื่อป้องกันให้ไม่มีโอกาสได้กลับมากระทำผิดเช่นนั้นได้อีก
ตัวอย่าง นายโทมีอาชีพเป็นเจ้าของโรงงานผลิตลูกชิ้น ได้ผลิตลูกชิ้นที่ใส่สารบอแรกซ์ ทำให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพอนามัยของประชาชน พฤติการณ์เป็นการกระทำผิดโดยอาศัยโอกาสจากการประกอบอาชีพผลิตผลิตลูกชิ้น ซึ่งหากให้นายโทประกอบอาชีพผลิตลูกชิ้นอีก ก็อาจกลับมากระทำผิดผลิตลูกชิ้นที่ใส่สารบอแรกซ์ เช่นนี้ จึงขอให้ศาลสั่งห้ามประกอบอาชีพผลิตลูกชิ้น
สภาพบังคับทางอาญา
โทษสำหรับลงแต่ผู้กระทำความผิดมีดังนี้ (เรียงจากโทษที่หนักสุดไปยังทาที่เบาสุด)
(1) ประหารชีวิต
(2) จำคุก
(3) กักขัง
(4) ปรับ
(5) ริบทรัพย์สิน
ข้อสังเกต
1.โทษประหารชีวิตและโทษจำคุกตลอดชีวิตมิให้นำมาใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี
2.สำหรับโทษประหารชีวิต ให้นำผู้กระทำความผิดไปฉีดสารพิษเสียให้ตาย
3.ในการกระทำความผิดที่โทษไม่หนักมากศาลสามารถสั่งผู้กระทำความผิดให้ได้รับโทษกักขังได้ ในการที่ศาลสามารถระบุสถานที่กักขังได้ ผู้ใดต้องโทษกักขังให้กักตัวไว้ในสถานที่กักขังที่กำหนดไว้อัน มิใช่ เรือนจำ สถานีตำรวจ หรือสถานที่ควบคุมผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวน
4.ปรับเป็นโทษอาญาอย่างหนึ่งซึ่งใช้ลงโทษผู้กระทำผิด เช่น ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ เว้นแต่การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับการสนทนา ผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษปรับ ตั้งแต่ 400 ถึง 1,000 บาท เป็นต้น และกรณีที่ศาลลงโทษปรับตามกฎหมายจำเลยต้องชำระค่าปรับเป็นเงินตามจำนวนในคำพิพากษาของศาล ถ้าไม่ชำระค่าปรับภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ศาลพิพากษา จะมีขั้นตอนในการบังคับคดีโดยการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ หรือ กักขังแทนค่าปรับ พร้อมกำหนดให้ถืออัตรา 200 บาท ต่อหนึ่งวัน
5.โทษริบทรัพย์สิน แบ่งออกเป็น 2 กรณีดังนี้
5.1.ริบโดยเด็ดขาด เนื่องจากเป็นทรัพย์สินที่ผิดกฏหมาย เช่น เงินปลอม เฮโรอีน ปืนเถื่อน สุราเถื่อน
5.2.ริบโดยใช้ดุลยพินิจ ในกรณีที่เป็นทรัพย์สินซึ่งบุคคลอื่นได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด เช่น ปืนมีทะเบียนตามกฎหมาย (ไม่ใช่ทรัพย์ที่ผิดกฏหมาย) แต่ถ้าใช้ปืนนั้นฆ่าผู้อื่นปืนนั้นศาลอาจใช้ดุลยพินิจในการริบปืนนั้น ศาลอาจใช้ดุลยพินิจในการริบทรัพย์ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยกระทำความผิด เช่น ทรัพย์ที่เกิดจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ อย่างไรก็ตาม เจ้าของที่แท้จริงอาจขอกคืนได้
(1) ประหารชีวิต
(2) จำคุก
(3) กักขัง
(4) ปรับ
(5) ริบทรัพย์สิน
ข้อสังเกต
1.โทษประหารชีวิตและโทษจำคุกตลอดชีวิตมิให้นำมาใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี
2.สำหรับโทษประหารชีวิต ให้นำผู้กระทำความผิดไปฉีดสารพิษเสียให้ตาย
3.ในการกระทำความผิดที่โทษไม่หนักมากศาลสามารถสั่งผู้กระทำความผิดให้ได้รับโทษกักขังได้ ในการที่ศาลสามารถระบุสถานที่กักขังได้ ผู้ใดต้องโทษกักขังให้กักตัวไว้ในสถานที่กักขังที่กำหนดไว้อัน มิใช่ เรือนจำ สถานีตำรวจ หรือสถานที่ควบคุมผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวน
4.ปรับเป็นโทษอาญาอย่างหนึ่งซึ่งใช้ลงโทษผู้กระทำผิด เช่น ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ เว้นแต่การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับการสนทนา ผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษปรับ ตั้งแต่ 400 ถึง 1,000 บาท เป็นต้น และกรณีที่ศาลลงโทษปรับตามกฎหมายจำเลยต้องชำระค่าปรับเป็นเงินตามจำนวนในคำพิพากษาของศาล ถ้าไม่ชำระค่าปรับภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ศาลพิพากษา จะมีขั้นตอนในการบังคับคดีโดยการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ หรือ กักขังแทนค่าปรับ พร้อมกำหนดให้ถืออัตรา 200 บาท ต่อหนึ่งวัน
5.โทษริบทรัพย์สิน แบ่งออกเป็น 2 กรณีดังนี้
5.1.ริบโดยเด็ดขาด เนื่องจากเป็นทรัพย์สินที่ผิดกฏหมาย เช่น เงินปลอม เฮโรอีน ปืนเถื่อน สุราเถื่อน
5.2.ริบโดยใช้ดุลยพินิจ ในกรณีที่เป็นทรัพย์สินซึ่งบุคคลอื่นได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด เช่น ปืนมีทะเบียนตามกฎหมาย (ไม่ใช่ทรัพย์ที่ผิดกฏหมาย) แต่ถ้าใช้ปืนนั้นฆ่าผู้อื่นปืนนั้นศาลอาจใช้ดุลยพินิจในการริบปืนนั้น ศาลอาจใช้ดุลยพินิจในการริบทรัพย์ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยกระทำความผิด เช่น ทรัพย์ที่เกิดจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ อย่างไรก็ตาม เจ้าของที่แท้จริงอาจขอกคืนได้
วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2551
"รัฐธรรมนูญ" ไม่ได้มีความหมายอย่างเดียวกันกับ "กฎหมายรัฐธรรมนูญ"
คำว่า "รัฐธรรมนูญ" หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า "constitution"
เป็นตัวบทกฎหมาย คือบทกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ ซึ่งฉบับปัจจุบันคือ รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550
-------------------------------------------------------------------------------------
ส่วนคำว่า "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" ซึ่งเรียกในภาษาอังกฤษว่า "constitutional law"
เป็นกลุ่มของกฎหมายที่วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง โดยกำหนดโครงสร้างของรัฐ ระบอบการปกครอง การใช้อำนาจอธิปไตย และการดำเนินงานของสถาบันสูงสุดของรัฐที่ใช้อำนาจอธิปไตยเป็นหลัก และทฤษฎีกฎหมาย
------------------------------------------------------------------------------------
ดังนั้น การกล่าวอ้างรัฐธรรมนูญว่า "กฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 1 บัญญัติว่า ..." จึงออกจะคลาดเคลื่อนไปจากหลักวิชาการ เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกลุ่มของกฎหมาย ไม่ใช่รัฐธรรมนูญ แต่รัฐธรรมนูญเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายรัฐธรรมนูญ
เทียบเคียงกับกรณีการเรียกขาน พระราชบัญญัติ ฉบับต่าง ๆ สังเกตว่าจะไม่ได้เรียกว่า "กฎหมายพระราชบัญญัติ" ฉันใดก็ฉันนั้น
เป็นตัวบทกฎหมาย คือบทกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ ซึ่งฉบับปัจจุบันคือ รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550
-------------------------------------------------------------------------------------
ส่วนคำว่า "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" ซึ่งเรียกในภาษาอังกฤษว่า "constitutional law"
เป็นกลุ่มของกฎหมายที่วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง โดยกำหนดโครงสร้างของรัฐ ระบอบการปกครอง การใช้อำนาจอธิปไตย และการดำเนินงานของสถาบันสูงสุดของรัฐที่ใช้อำนาจอธิปไตยเป็นหลัก และทฤษฎีกฎหมาย
------------------------------------------------------------------------------------
ดังนั้น การกล่าวอ้างรัฐธรรมนูญว่า "กฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 1 บัญญัติว่า ..." จึงออกจะคลาดเคลื่อนไปจากหลักวิชาการ เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกลุ่มของกฎหมาย ไม่ใช่รัฐธรรมนูญ แต่รัฐธรรมนูญเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายรัฐธรรมนูญ
เทียบเคียงกับกรณีการเรียกขาน พระราชบัญญัติ ฉบับต่าง ๆ สังเกตว่าจะไม่ได้เรียกว่า "กฎหมายพระราชบัญญัติ" ฉันใดก็ฉันนั้น
วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551
ครอบครองปรปักษ์ !?
การบุคคลคนหนึ่งครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาที่จะเป็นเจ้าของเป็นเวลาติดต่อกัน 10 ปี ในกรณีที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ และติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี ในกรณีที่เป็นสังหาริมทรัพย์ บุคคลนั้นย่อมได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นไป
นิยามข้างต้น เป็นนิยามของของคำว่า "ครอบครองปรปักษ์"
ตัวอย่าง นาย ก. เห็นที่ดินของนาย ข. ปล่อยที่ทิ้งไว้จึงเข้าไปยึดครองแล้วปลูกบ้านอยู่โดยเปิดเผยด้วยเจตนาที่จะเป็นเจ้าของเป็นเวลาติดต่อกัน 10 ปี นาย ก. ย่อมได้ที่ดินแปลงนั้นไปทันที แต่ต้องไปจดทะเบียนการครอบครองปรปักษ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เรียบร้อยเสียก่อน จึงจำใช้ยันบุคคลภายนอกที่รับโอนที่ดินแปลงนั้นจากนาย ข. ได้ ถ้าไม่ไปจดทะเบียนเสียให้ถูกต้องแล้วต่อมานาย ข. โอนที่ดินแปลงนั้นให้แก่นาย ค. โดยจดทะเบียบต่อเจ้าพนักงานที่ดินและเสียค่าตอบแทนกันแล้ว นาย ก. จะอ้างการครอบครองปรปักษ์ขึ้นต่อสู้นาย ค. ไม่ได้
การครอบครองปรปักษ์จะนับเวลาที่ผู้อื่นครอบครองไว้ก่อนตนแล้วนำมารวมกับเวลาที่ตนครอบครองปรปักษ์ได้หรือไม่
ตัวอย่าง นาย ก.ครอบครองปรปักษ์ที่ดินของนาย ข.มา 5 ปี แล้วโอนที่ดินแปลงนั้นให้นาย ค.ครอบครองต่ออีก 5ปี รวมเป็น 10 ปี จะได้ที่ดินแปลงนั้นหรือไม่
คำตอบคือได้ แต่ทั้งนี้การครอบครองครั้งก่อนจะต้องเป็นการครอบครองปรปักษ์ด้วยเสมอ
แล้วบุคคลที่ครอบครองภายหลังที่ดินแปลงนั้นมาจากผู้ครอบครองปรปักษ์คนก่อนด้วยการโอนสิทธิให้แก่กัน เช่น ให้ ซื้อขาย รับมรดก ฯลฯ ไม่ใช่เป็นการเข้าไปแย่งการครอบครองจากผู้ครอบครองปรปักษ์คนก่อน เช่นนี้ เมื่อรับโอนมาแล้วตนครอบครองปรปักษ์ต่อไปจนรวมเวลาเข้าด้วยกันเป็น 10 ปีก็ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น
นิยามข้างต้น เป็นนิยามของของคำว่า "ครอบครองปรปักษ์"
ตัวอย่าง นาย ก. เห็นที่ดินของนาย ข. ปล่อยที่ทิ้งไว้จึงเข้าไปยึดครองแล้วปลูกบ้านอยู่โดยเปิดเผยด้วยเจตนาที่จะเป็นเจ้าของเป็นเวลาติดต่อกัน 10 ปี นาย ก. ย่อมได้ที่ดินแปลงนั้นไปทันที แต่ต้องไปจดทะเบียนการครอบครองปรปักษ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เรียบร้อยเสียก่อน จึงจำใช้ยันบุคคลภายนอกที่รับโอนที่ดินแปลงนั้นจากนาย ข. ได้ ถ้าไม่ไปจดทะเบียนเสียให้ถูกต้องแล้วต่อมานาย ข. โอนที่ดินแปลงนั้นให้แก่นาย ค. โดยจดทะเบียบต่อเจ้าพนักงานที่ดินและเสียค่าตอบแทนกันแล้ว นาย ก. จะอ้างการครอบครองปรปักษ์ขึ้นต่อสู้นาย ค. ไม่ได้
การครอบครองปรปักษ์จะนับเวลาที่ผู้อื่นครอบครองไว้ก่อนตนแล้วนำมารวมกับเวลาที่ตนครอบครองปรปักษ์ได้หรือไม่
ตัวอย่าง นาย ก.ครอบครองปรปักษ์ที่ดินของนาย ข.มา 5 ปี แล้วโอนที่ดินแปลงนั้นให้นาย ค.ครอบครองต่ออีก 5ปี รวมเป็น 10 ปี จะได้ที่ดินแปลงนั้นหรือไม่
คำตอบคือได้ แต่ทั้งนี้การครอบครองครั้งก่อนจะต้องเป็นการครอบครองปรปักษ์ด้วยเสมอ
แล้วบุคคลที่ครอบครองภายหลังที่ดินแปลงนั้นมาจากผู้ครอบครองปรปักษ์คนก่อนด้วยการโอนสิทธิให้แก่กัน เช่น ให้ ซื้อขาย รับมรดก ฯลฯ ไม่ใช่เป็นการเข้าไปแย่งการครอบครองจากผู้ครอบครองปรปักษ์คนก่อน เช่นนี้ เมื่อรับโอนมาแล้วตนครอบครองปรปักษ์ต่อไปจนรวมเวลาเข้าด้วยกันเป็น 10 ปีก็ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น
วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2551
ของหมั้น กับ สินสอด
ของหมั้น กับ สินสอด เป็นคำศัพท์ทางกฎหมายที่ท่านผู้อ่านอาจพบเจออยู่เสมอ ๆ ผมจึงหยิบยกคำสองคำขึ้นมาเพื่อเก็บตกความรู้ทางกฎหมายของท่าน
-------------------------------------------------------------------------------------
ของหมั้น ได้แก่ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่หญิงคู่หมั้น เพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและประกันว่าจะสมรสกับหญิงนั้น
ผู้ที่ทำการหมั้นมิได้จำกัดเฉพาะผู้ที่เป็นคู่หมั้นเท่านั้น แต่ยังหมายถึงบุคคลอื่น ๆ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับชายหรือ หญิงคู่หมั้นด้วย เช่น บิดามารดา ผู้ปกครอง
หากบุคคลผู้ทำการหมั้นมิใช่ชายหญิงคู่หมั้นแล้ว การหมั้นจะผูกพันเฉพาะผู้ที่ทำการหมั้นเท่านั้นจะผูกพันชายหรือหญิงต่อเมื่อชายหญิงคู่หมั้นได้ตกลงยินยอมในการหมั้นนั้นด้วย
การหมั้นจะใช้บังคับได้ต่อเมื่อมีการส่งมอบของหมั้นให้แก่หญิง ถ้าไม่มีการส่งมอบของหมั้นแม้จะมีการหมั้นตามจารีตประเพณีของการหมั้น การหมั้นก็ไม่สมบูรณ์จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ (จะฟ้องร้องเรียกให้ฝ่ายชายส่งมอบของหมั้นไม่ได้ หรือจะเรียกค่าทดแทนในกรณีที่มีการผิดสัญญาหมั้นไม่ได้)ซึ่งของหมั้นนั้นจะมีมูลค่าเท่าใดก็ได้ขอเพียงให้มีการให้ของหมั้นแก่หญิงคู่หมั้นก็เป็นการเพียงพอ
ของหมั้นเมื่อมีการให้แก่หญิงแล้วย่อมตกเป็นสิทธิแก่หญิงทันที นอกจากนี้ของหมั้นก็ไม่ถือว่าเป็นสินสมรสด้วย
ของหมั้นถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ จะต้องส่งมอบ ให้หญิงทันที ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ จะต้องจดทะเบียนโอนด้วย
การหมั้นที่สมบูรณ์ย่อมนำไปสู่การสมรส
แต่ในกรณีที่การสมรสไม่เกิดขึ้นไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไรจะบังคับให้มีการสมรสไม่ได้
ซึ่งกรณีนี้เป็นสิ่งที่การหมั้นหรือสัญญาหมั้นแต่ต่างจากสัญญาอื่นๆซึ่งสามารถบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถบังคับให้สมรสไม่ได้ แต่ยังมีผลต่อของหมั้นซึ่งฝ่ายชายได้ให้แก่หญิงคู่หมั้นด้วยว่าหญิงนั้นจะต้องคืนของหมั้นให้แก่ชาย ถ้าหญิงคู่หมั้นไม่ย่อมสมรสโดยไม่มีเหตุอันสมควร(เท่ากับผิดสัญญาหมั้น)
แต่ในกรณีดังต่อไปนี้หญิงคู่หมั้นไม่ต้องคืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายชาย เช่นชายคู่หมั้นผิดสัญญาหมั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือต่างฝ่ายต่างละเลยไม่นำพาต่อการจดทะเบียน จะถือว่าหญิงคู่หมั้นผิดสัญญาไม่ได้
-------------------------------------------------------------------------------------
สินสอด หมายถึง ทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาฝ่ายหญิงเพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส โดยสินสอดนั้นจะส่งมอบเมื่อใดก็ได้
อย่างไรก็ตาม หากว่าเป็นทรัพย์สินที่ให้เพื่อ ขอขมาบิดามารดาของฝ่ายหญิงที่ตนล่วงเกินลูกสาวของเขา ทรัพย์สินนั้นไม่ใช่สินสอด แม้ต่อมาภายหลังไม่มีการสมรสชายจะเรียกคืนไม่ได้ เพราะสิ่งของที่ให้กันนั้นกฎหมายไม่ถือว่าเป็นสินสอด
ในกรณีดังต่อไปนี้ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้ มีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
1.ถ้าไม่มีการสมรสเกิดขึ้นโดยเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง เหตุที่ว่าทำให้ชายไม่สมควร หรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น หรือ
2.ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ
-------------------------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------------------------
ของหมั้น ได้แก่ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่หญิงคู่หมั้น เพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและประกันว่าจะสมรสกับหญิงนั้น
ผู้ที่ทำการหมั้นมิได้จำกัดเฉพาะผู้ที่เป็นคู่หมั้นเท่านั้น แต่ยังหมายถึงบุคคลอื่น ๆ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับชายหรือ หญิงคู่หมั้นด้วย เช่น บิดามารดา ผู้ปกครอง
หากบุคคลผู้ทำการหมั้นมิใช่ชายหญิงคู่หมั้นแล้ว การหมั้นจะผูกพันเฉพาะผู้ที่ทำการหมั้นเท่านั้นจะผูกพันชายหรือหญิงต่อเมื่อชายหญิงคู่หมั้นได้ตกลงยินยอมในการหมั้นนั้นด้วย
การหมั้นจะใช้บังคับได้ต่อเมื่อมีการส่งมอบของหมั้นให้แก่หญิง ถ้าไม่มีการส่งมอบของหมั้นแม้จะมีการหมั้นตามจารีตประเพณีของการหมั้น การหมั้นก็ไม่สมบูรณ์จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ (จะฟ้องร้องเรียกให้ฝ่ายชายส่งมอบของหมั้นไม่ได้ หรือจะเรียกค่าทดแทนในกรณีที่มีการผิดสัญญาหมั้นไม่ได้)ซึ่งของหมั้นนั้นจะมีมูลค่าเท่าใดก็ได้ขอเพียงให้มีการให้ของหมั้นแก่หญิงคู่หมั้นก็เป็นการเพียงพอ
ของหมั้นเมื่อมีการให้แก่หญิงแล้วย่อมตกเป็นสิทธิแก่หญิงทันที นอกจากนี้ของหมั้นก็ไม่ถือว่าเป็นสินสมรสด้วย
ของหมั้นถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ จะต้องส่งมอบ ให้หญิงทันที ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ จะต้องจดทะเบียนโอนด้วย
การหมั้นที่สมบูรณ์ย่อมนำไปสู่การสมรส
แต่ในกรณีที่การสมรสไม่เกิดขึ้นไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไรจะบังคับให้มีการสมรสไม่ได้
ซึ่งกรณีนี้เป็นสิ่งที่การหมั้นหรือสัญญาหมั้นแต่ต่างจากสัญญาอื่นๆซึ่งสามารถบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถบังคับให้สมรสไม่ได้ แต่ยังมีผลต่อของหมั้นซึ่งฝ่ายชายได้ให้แก่หญิงคู่หมั้นด้วยว่าหญิงนั้นจะต้องคืนของหมั้นให้แก่ชาย ถ้าหญิงคู่หมั้นไม่ย่อมสมรสโดยไม่มีเหตุอันสมควร(เท่ากับผิดสัญญาหมั้น)
แต่ในกรณีดังต่อไปนี้หญิงคู่หมั้นไม่ต้องคืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายชาย เช่นชายคู่หมั้นผิดสัญญาหมั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือต่างฝ่ายต่างละเลยไม่นำพาต่อการจดทะเบียน จะถือว่าหญิงคู่หมั้นผิดสัญญาไม่ได้
-------------------------------------------------------------------------------------
สินสอด หมายถึง ทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาฝ่ายหญิงเพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส โดยสินสอดนั้นจะส่งมอบเมื่อใดก็ได้
อย่างไรก็ตาม หากว่าเป็นทรัพย์สินที่ให้เพื่อ ขอขมาบิดามารดาของฝ่ายหญิงที่ตนล่วงเกินลูกสาวของเขา ทรัพย์สินนั้นไม่ใช่สินสอด แม้ต่อมาภายหลังไม่มีการสมรสชายจะเรียกคืนไม่ได้ เพราะสิ่งของที่ให้กันนั้นกฎหมายไม่ถือว่าเป็นสินสอด
ในกรณีดังต่อไปนี้ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้ มีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
1.ถ้าไม่มีการสมรสเกิดขึ้นโดยเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง เหตุที่ว่าทำให้ชายไม่สมควร หรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น หรือ
2.ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ
-------------------------------------------------------------------------------------
วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551
ประชาพิจารณ์ ประชามติ และ poll
ทั้งสามคำมีความหมายที่มีความแตกต่างในตัวของตัวเอง ดังนี้
ประชาพิจารณ์
ได้แก่กระบวนการที่รัฐเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นในปัญหาสำคัญของชาติที่มีข้อให้เกี่ยวหลายฝ่าย สำหรับเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจของรัฐในการดำเนินงานอันมีผลกระทบต่อประชาชน ปัจจุบันกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับประชาพิจารณ์ ได้แก่ "ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ.2539"
------------------------------------------
ประชามติ
ได้แก่ กระบวนการที่รัฐขอปรึกษาความเห็นของประชาชนว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกิจการสำคัญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่าอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน เคยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประชาพิจารณ์ได้แก่ มาตรา 214 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2540)
------------------------------------------
การสำรวจความเห็นสาธารณะ (poll)
ได้แก่ กระบวนการที่รัฐหรือเอกชนใช้ในการขอทราบความคิดเห็นของประชาชนในกรณีใดกรณีหนึ่งที่ต้องการสำรวจหรือต้องการทราบ "ความนิยม" ในการกระทำ ตัวบุคคล พรรคการเมืองหรือสินค้าประเภทใดประเภทหนึ่ง ปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าว
------------------------------------------
เอื้อเฟื้อข้อมูลจาก www.pub-law.net ครับ
ประชาพิจารณ์
ได้แก่กระบวนการที่รัฐเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นในปัญหาสำคัญของชาติที่มีข้อให้เกี่ยวหลายฝ่าย สำหรับเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจของรัฐในการดำเนินงานอันมีผลกระทบต่อประชาชน ปัจจุบันกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับประชาพิจารณ์ ได้แก่ "ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ.2539"
------------------------------------------
ประชามติ
ได้แก่ กระบวนการที่รัฐขอปรึกษาความเห็นของประชาชนว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกิจการสำคัญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่าอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน เคยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประชาพิจารณ์ได้แก่ มาตรา 214 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2540)
------------------------------------------
การสำรวจความเห็นสาธารณะ (poll)
ได้แก่ กระบวนการที่รัฐหรือเอกชนใช้ในการขอทราบความคิดเห็นของประชาชนในกรณีใดกรณีหนึ่งที่ต้องการสำรวจหรือต้องการทราบ "ความนิยม" ในการกระทำ ตัวบุคคล พรรคการเมืองหรือสินค้าประเภทใดประเภทหนึ่ง ปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าว
------------------------------------------
เอื้อเฟื้อข้อมูลจาก www.pub-law.net ครับ
วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551
สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
สาธารณสมบัติของแผ่นดิน คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น
(1) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินที่มีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดิน โดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน
(2) ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ
(3) ทรัพย์สินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่า ป้อมและโรงทหาร สำนักราชการบ้านเมือง เรือรบ อาวุธยุทธภัณฑ์
ผลของการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ก) จะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งกฎหมายเฉพาะให้โอนกันได้
ข) ห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดิน เช่น ผู้ใดครอบครองป่าสงวนมาเป็นเวลา 90 ปีแล้วจะยกขึ้นต่อสู้ว่าตนได้ครอบครองปรปักษ์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินขึ้นต่อสู้กับรัฐบาลเมื่อถูกรัฐฟ้องขับไล่ไม่ได้
ค) ห้ามมิให้ยึดทรัพย์สินของแผ่นดิน
(1) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินที่มีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดิน โดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน
(2) ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ
(3) ทรัพย์สินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่า ป้อมและโรงทหาร สำนักราชการบ้านเมือง เรือรบ อาวุธยุทธภัณฑ์
ผลของการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ก) จะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งกฎหมายเฉพาะให้โอนกันได้
ข) ห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดิน เช่น ผู้ใดครอบครองป่าสงวนมาเป็นเวลา 90 ปีแล้วจะยกขึ้นต่อสู้ว่าตนได้ครอบครองปรปักษ์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินขึ้นต่อสู้กับรัฐบาลเมื่อถูกรัฐฟ้องขับไล่ไม่ได้
ค) ห้ามมิให้ยึดทรัพย์สินของแผ่นดิน
วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2551
ศาลชำนัญพิเศษ
เป็นศาลชั้นต้นที่ใช้วิธีพิจารณาพิเศษตามแตกต่างจากศาลชั้นต้นทั่วไป โดยผู้พิพากษาศาลชำนัญพิเศษจะเป็นผู้พิพากษาที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ โดยเฉพาะ
ศาลในกลุ่มนี้บางศาล เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลล้มละลาย และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มีบุคคลภายนอกที่มิใช่ผู้พิพากษาแต่มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาสมทบเข้ามาร่วมพิจารณาและพิพากษาคดีด้วย
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว หากโจทก์-จำเลยไม่พอใจ ก็สามารถอุทธรณ์ได้ แต่ต้องอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา เพราะเป็นคดีที่พิเศษไปจากคดีทั่วไป โดยศาลฎีกาจะแบ่งแผนกเป็นแผนกคดีล้มละลาย แผนกคดีคดีภาษีอากร แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว แผนกคดีแรงงาน แผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเป็นต้น
ศาลในกลุ่มนี้บางศาล เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลล้มละลาย และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มีบุคคลภายนอกที่มิใช่ผู้พิพากษาแต่มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาสมทบเข้ามาร่วมพิจารณาและพิพากษาคดีด้วย
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว หากโจทก์-จำเลยไม่พอใจ ก็สามารถอุทธรณ์ได้ แต่ต้องอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา เพราะเป็นคดีที่พิเศษไปจากคดีทั่วไป โดยศาลฎีกาจะแบ่งแผนกเป็นแผนกคดีล้มละลาย แผนกคดีคดีภาษีอากร แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว แผนกคดีแรงงาน แผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเป็นต้น
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
ก่อนที่จะพูดเรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ .. ผมของอธิบายบางเรื่องที่มีความเกี่ยวเนื่องสักนิดนึงครับ
ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น จะมีเรื่องเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาว่าด้วยการจ้างแรงงาน โดยได้ให้ความหมายของการจ้างแรงงานว่า
"อันว่าจ้างแรงงานนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่านายจ้างและนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้"
ตรงคำว่า "สินจ้าง" ที่น ายจ้าง เป็นผู้จ่ายให้กับ ลูกจ้าง นั้น ภาษาชาวบ้านเค้าเรียกกันว่า ค่าจ้าง ซึ่งก็มีความหมายทำนองเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ลูกจ้างตกอยู่ในฐานะที่เป็นฝ่ายเสียเปรียบ เพราะถ้าจะต่อรองอะไรมาก นายจ้างก็ไล่ออกสถานเดียว ทำให้ ลูกจ้างไม่มีอำนาจต่อรอง
รัฐจึงพยายามคิดกระบวนการคุ้มครอง ออกมาในรูปของกฎหมาย
กฎหมายที่ว่านั่นก็คือ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
กฎหมายคุ้มครองแรงงานนั้น ชื่อก็บอกแล้วคุ้มครองแรงงาน ซึ่งก็คือลูกจ้างนั่นเอง
เจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าว ต้องการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำ Minimun Standard ให้นายจ้างปฏิบัติกับลูกจ้างของตน
หนึ่งในนั้นก็คือ เรื่องค่าจ้าง ---> โดยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำนั้น คือ 148บาทต่อวัน ในส่วนกรุงเทพและปริมณฑล อัตราค่าจ้างขั้นต่ำคือ 203 บาทต่อวัน (เริ่ม 1 มิถุนายน พ.ศ.2551
ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น จะมีเรื่องเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาว่าด้วยการจ้างแรงงาน โดยได้ให้ความหมายของการจ้างแรงงานว่า
"อันว่าจ้างแรงงานนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่านายจ้างและนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้"
ตรงคำว่า "สินจ้าง" ที่น ายจ้าง เป็นผู้จ่ายให้กับ ลูกจ้าง นั้น ภาษาชาวบ้านเค้าเรียกกันว่า ค่าจ้าง ซึ่งก็มีความหมายทำนองเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ลูกจ้างตกอยู่ในฐานะที่เป็นฝ่ายเสียเปรียบ เพราะถ้าจะต่อรองอะไรมาก นายจ้างก็ไล่ออกสถานเดียว ทำให้ ลูกจ้างไม่มีอำนาจต่อรอง
รัฐจึงพยายามคิดกระบวนการคุ้มครอง ออกมาในรูปของกฎหมาย
กฎหมายที่ว่านั่นก็คือ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
กฎหมายคุ้มครองแรงงานนั้น ชื่อก็บอกแล้วคุ้มครองแรงงาน ซึ่งก็คือลูกจ้างนั่นเอง
เจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าว ต้องการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำ Minimun Standard ให้นายจ้างปฏิบัติกับลูกจ้างของตน
หนึ่งในนั้นก็คือ เรื่องค่าจ้าง ---> โดยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำนั้น คือ 148บาทต่อวัน ในส่วนกรุงเทพและปริมณฑล อัตราค่าจ้างขั้นต่ำคือ 203 บาทต่อวัน (เริ่ม 1 มิถุนายน พ.ศ.2551
ระบบศาลโลก
เดิมระบบศาลของประเทศไทยเป็น "ระบบศาลเดี่ยว" คือ มีศาลยุติธรรมแต่เพียงศาลเดียวที่มี อำนาจพิจารณาคดีทุกประเภทและมีศาลฎีกาเป็นศาลยุติธรรมสูงสุด
ต่อมาเมื่อได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 40 ซึ่งกำหนดให้มี "ศาลปกครอง" แยกต่างหากจากศาลยุติธรรม จึงทำให้ระบบศาลของประเทศไทยกลายเป็น "ระบบศาลคู่"
มาพิจารณาถึงความหมายที่แท้จริงของศาลเดี่ยวและศาลคู่กันดีกว่าครับ
1.ระบบศาลเดี่ยว
ได้แก่ ระบบศาลของประเทศที่ไม่มีการแบ่งแยกกฎหมายและศาล คือ ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดคดีต่างๆทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง หรือคดีประเภทอื่น ประเทศที่ใช้ระบบนี้จะได้แก่ ประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์แบบเดียวกับประเทศอังกฤษ รวมทั้งประเทศไทยก่อนที่จะประกาศใช้รัฐธรรมนูญปัจจุบัน
2.ระบบศาลคู่
ได้แก่ ระบบศาลของประเทศที่ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดคดีแพ่งและคดีอาญาเท่านั้น ส่วนการวินิจฉัยชี้ขาดคดีปกครองนั้นอยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลปกครองซึ่งมีระบบศาลและระบบผู้พิพากษาแยกต่างหากจากระบบศาลและระบบผู้พิพากษาของศาลยุติธรรม ประเทศที่ใช้ระบบนี้จะได้แก่ ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเบลเยี่ยม
ดังนั้น เมื่อรัฐธรรมฉบับปัจจุบันได้บัญญัติให้มีศาลปกครองขึ้นแยกต่างหากจากศาลยุติธรรม ดังนั้น ประเทศไทยจึงกลายเป็นประเทศที่ใช้ระบบศาลคู่
ต่อมาเมื่อได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 40 ซึ่งกำหนดให้มี "ศาลปกครอง" แยกต่างหากจากศาลยุติธรรม จึงทำให้ระบบศาลของประเทศไทยกลายเป็น "ระบบศาลคู่"
มาพิจารณาถึงความหมายที่แท้จริงของศาลเดี่ยวและศาลคู่กันดีกว่าครับ
1.ระบบศาลเดี่ยว
ได้แก่ ระบบศาลของประเทศที่ไม่มีการแบ่งแยกกฎหมายและศาล คือ ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดคดีต่างๆทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง หรือคดีประเภทอื่น ประเทศที่ใช้ระบบนี้จะได้แก่ ประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์แบบเดียวกับประเทศอังกฤษ รวมทั้งประเทศไทยก่อนที่จะประกาศใช้รัฐธรรมนูญปัจจุบัน
2.ระบบศาลคู่
ได้แก่ ระบบศาลของประเทศที่ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดคดีแพ่งและคดีอาญาเท่านั้น ส่วนการวินิจฉัยชี้ขาดคดีปกครองนั้นอยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลปกครองซึ่งมีระบบศาลและระบบผู้พิพากษาแยกต่างหากจากระบบศาลและระบบผู้พิพากษาของศาลยุติธรรม ประเทศที่ใช้ระบบนี้จะได้แก่ ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเบลเยี่ยม
ดังนั้น เมื่อรัฐธรรมฉบับปัจจุบันได้บัญญัติให้มีศาลปกครองขึ้นแยกต่างหากจากศาลยุติธรรม ดังนั้น ประเทศไทยจึงกลายเป็นประเทศที่ใช้ระบบศาลคู่
คดีดำ และ คดีแดง หมายถึงอะไร
คดีดำ หรือ คดีหมายเลขดำ หมายถึง คดีที่ยังมีการพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้น (ยังไม่มีการตัดสิน) โดยเมื่อมีการฟ้องคดีในศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นจะมีการออกหมายเลข คดีดำให้ เช่น คดีหมายเลขดำที่ 1234/2543หมายถึง คดีที่ฟ้องในลำดับที่ 1234 ใน ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้น
คดีแดง หรือ คดีหมายเลขแดง หมายถึง คดีที่ศาลชั้นต้นได้มีการตัดสินแล้ว เมื่อศาลชั้นต้น มีการตัดสินคดีใดแล้ว ก็จะมีการออกหมายเลขคดีแดงให้ เช่น คดีหมายเลขแดงที่ 1234/2543ซึ่งหมายถึง คดีที่ศาลชั้นต้น ได้มีการตัดสิน ในลำดับที่ 1234 ในปี 2543 เป็นต้น
คดีแดง หรือ คดีหมายเลขแดง หมายถึง คดีที่ศาลชั้นต้นได้มีการตัดสินแล้ว เมื่อศาลชั้นต้น มีการตัดสินคดีใดแล้ว ก็จะมีการออกหมายเลขคดีแดงให้ เช่น คดีหมายเลขแดงที่ 1234/2543ซึ่งหมายถึง คดีที่ศาลชั้นต้น ได้มีการตัดสิน ในลำดับที่ 1234 ในปี 2543 เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)