วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551

การพระราชทานอภัยโทษ ( Pardon or Grace )

หมายถึงการยกเว้นโทษให้ทั้งหมด หรือบางส่วน หรือลดหย่อนผ่อนโทษลงไปแก่นักโทษผู้ที่ต้องคำพิพากษาให้รับโทษนั้นโดยยังถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดและเคยต้องคำพิพากษา

การพระราชทานอภัยโทษเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ การต้องโทษจะมีได้ก็โดยคำพิพากษาของศาลซึ่งทำในนามพระมหากษัตริย์

ดังนั้น การพระราชทานอภัยโทษจึงเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ อันนับเนื่องในพระมหากรุณาธิคุณส่วนหนึ่ง การพระราชทานอภัยโทษนั้นจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีผู้ร้องขอหรือถวายเรื่องต่อพระมหากษัตริย์ และใช้เมื่อคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้กระทำความผิดแล้วเท่านั้น ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ที่ได้รับการพระราชทานอภัยโทษนั้นไม่ต้องรับโทษอีกเลยหรือลดโทษให้มีการรับโทษแต่เพียงบางส่วน ทั้งนี้ผลของการพระราชทานอภัยโทษนั้นหาทำให้สิทธิต่างๆ ที่ต้องสูญเสียไปเพราะคำพิพากษากลับคืนมาไม่

ขั้นตอนการขอ

ผู้ต้องโทษ และผู้ที่มีประโยน์เกี่ยวข้องสามารถยื่นเรื่องราวทูลเกล้าถวายฎีกาขอพระราทานอภัยโทษผ่านเรือนจำ ทัณฑสถาน หรือกระทรวงยุติธรรม หรือสำนักราชเลขาธิการ

หลังจากรับเรื่องแล้วกรมราชทัณฑ์จะส่งไปสอบสวนเรื่องราวยังเรือนจำ ทัณฑสถานที่คสบคุมผู้ต้องโทษ จากนั้นจะเสนอความเห้นให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมลงนาม เพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลฯ ผ่านสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและสำนักราชเลขาธิการ เมื่อทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยเช่นไร ก็จะส่งผลฏีกาดังกล่าวให้กรมราชทัณฑ์ทราบและดำเนินการพร้อมทั้งแจ้งผลให้ผู้ยื่นเรื่องราวทูลเกล้าฯทราบต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น: