โทษสำหรับลงแต่ผู้กระทำความผิดมีดังนี้ (เรียงจากโทษที่หนักสุดไปยังทาที่เบาสุด)
(1) ประหารชีวิต
(2) จำคุก
(3) กักขัง
(4) ปรับ
(5) ริบทรัพย์สิน
ข้อสังเกต
1.โทษประหารชีวิตและโทษจำคุกตลอดชีวิตมิให้นำมาใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี
2.สำหรับโทษประหารชีวิต ให้นำผู้กระทำความผิดไปฉีดสารพิษเสียให้ตาย
3.ในการกระทำความผิดที่โทษไม่หนักมากศาลสามารถสั่งผู้กระทำความผิดให้ได้รับโทษกักขังได้ ในการที่ศาลสามารถระบุสถานที่กักขังได้ ผู้ใดต้องโทษกักขังให้กักตัวไว้ในสถานที่กักขังที่กำหนดไว้อัน มิใช่ เรือนจำ สถานีตำรวจ หรือสถานที่ควบคุมผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวน
4.ปรับเป็นโทษอาญาอย่างหนึ่งซึ่งใช้ลงโทษผู้กระทำผิด เช่น ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ เว้นแต่การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับการสนทนา ผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษปรับ ตั้งแต่ 400 ถึง 1,000 บาท เป็นต้น และกรณีที่ศาลลงโทษปรับตามกฎหมายจำเลยต้องชำระค่าปรับเป็นเงินตามจำนวนในคำพิพากษาของศาล ถ้าไม่ชำระค่าปรับภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ศาลพิพากษา จะมีขั้นตอนในการบังคับคดีโดยการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ หรือ กักขังแทนค่าปรับ พร้อมกำหนดให้ถืออัตรา 200 บาท ต่อหนึ่งวัน
5.โทษริบทรัพย์สิน แบ่งออกเป็น 2 กรณีดังนี้
5.1.ริบโดยเด็ดขาด เนื่องจากเป็นทรัพย์สินที่ผิดกฏหมาย เช่น เงินปลอม เฮโรอีน ปืนเถื่อน สุราเถื่อน
5.2.ริบโดยใช้ดุลยพินิจ ในกรณีที่เป็นทรัพย์สินซึ่งบุคคลอื่นได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด เช่น ปืนมีทะเบียนตามกฎหมาย (ไม่ใช่ทรัพย์ที่ผิดกฏหมาย) แต่ถ้าใช้ปืนนั้นฆ่าผู้อื่นปืนนั้นศาลอาจใช้ดุลยพินิจในการริบปืนนั้น ศาลอาจใช้ดุลยพินิจในการริบทรัพย์ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยกระทำความผิด เช่น ทรัพย์ที่เกิดจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ อย่างไรก็ตาม เจ้าของที่แท้จริงอาจขอกคืนได้
วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น