“ความยินยอมไม่ทำให้เป็นละเมิด” นั้นเป็นหลักกฎหมายทั่วไป มีความหมายที่บุคคลซึ่งยอมต่อการกระทำอย่างหนึ่ง หรือบุคคลที่เข้าเสี่ยงภัยยอมรับความเสียหาย จะฟ้องคดีเกี่ยวกับการกระทำหรือความเสียนั้นมิได้ และความยินยอมทำให้ผู้กระทำความเสียหายไม่ต้องรับผิดสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้น และถือว่าไม่มีการละเมิดเกิดขึ้นเลยทีเดียว
ก. ยอมให้ ข. ชกต่อยที่บริเวณใบหน้า เพื่อแสดงความแข็งแรงของ ก. ปรากฏว่าฟันของ ก. หักหลุดออกมา 1 ซี่ ก. จะเรียกค่าเสียหายจาก ข. อ้างว่าไม่รู้ว่าการให้ ข. ชก ฟันจะหลุดออกมา จะเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่
ก. ยอมให้ ข. ชกต่อยแล้ว เป็นความยินยอมของ ก. ก. จะอ้างว่าไม่รู้ว่าการให้ ข. ชกต่อย จะทำให้ฟันหักหลุดออกมาไม่ได้ การที่ ข. ชก ก. ไม่เป็นละเมิด
************** ข้อสังเกตสำคัญ ******************
อย่างไรก็ตาม ความยินยอมที่ขัดต่อกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ผู้กระทำไม่อาจยกขึ้นมาเพื่อยกเว้นความผิดทางอาญาได้
ตัวอย่าง นายเอกเพิ่งสักยันต์มาต้องการลองของ นายเอกจึงท้าให้นายโทใช้ปืนยิงตน 3 นัด เมื่อนายโทใช้ปืนยิงนายเอก ปรากฏว่า เพียงแค่นัดแรก นายเอกก็ตายสนิท เช่นนี้ นายโทต้องรับผิดทางอาญาฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา อย่างไรก็ตาม ในทางแพ่งนั้น ทายาทของนายเอกไม่อาจเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ เป็นไปตามหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่า ความยินยอมไม่ทำให้การนั้นเป็นละเมิด
วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น