วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การได้มาซึ่งทรัพย์สินไม่มีเจ้าของ

หลักกฏหมาย

1.ถ้าเจ้าของสังหาริมทรัพย์เลิกครอบครองทรัพย์ด้วยเจตนาสละกรรมสิทธิ์ไซร้ ท่านว่าสังหาริมทรัพย์นั้นไม่มีเจ้าของ

2.บุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์แห่งสังหาริมทรัพย์อันไม่มีเจ้าของโดยเข้าถือเอา เว้นแต่การเข้าถือเอาต้องห้ามด้วยกฎหมาย หรือฝ่าฝืนสิทธิของบุคคลอื่นที่จะเข้าถือเอาสังหาริมทรัพย์นั้น


คำถาม

นายสมชายทะเลาะกับแฟนสาวและโกรธที่แฟนสาวคืนแหวนทองซึ่งตนให้เป็นของขวัญจึงขว้างแหวนทองนั้นทิ้งไปในกองขยะแล้วจากไป สมศรีเห็นเหตุการณ์จึงเข้าไปค้นหาจนพบแหวนทองนั้น สุดสวยอยู่ในเหตุการณ์ด้วยเห็นว่าแหวนนั้นสวยมากจึงขอซื้อ สมศรีเกรงว่าเก็บไว้อาจมีปัญหายุ่งยากจึงขายแหวนทองนั้นให้สุดสวยไป ในวันรุ่งขึ้น สมชายนึกเสียดายแหวนทองนั้นจึงกลับมาหาที่เดิมและทราบความจริงว่าสุดสวยเป็นคนรับซื้อแหวนนั้นไป สมชายจึงตามไปทวงแหวนคืนจากสุดสวย ดังนี้ให้วินิจฉัยว่าสุดสวยจะมีข้อต่อสู้อย่างไรหรือไม่


แนวคำตอบ

ตาม ตามปัญหา สมชายทะเลาะกับแฟนสาวและโกรธที่แฟนสาวคืนแหวนทองซึ่งตนให้เป็นของขวัญจึงขว้างแหวนทองนั้นทิ้งไปในกองขยะ ถือได้ว่าสมชายได้เลิกครอบครองสังหาริมทรัพย์ด้วยเจตนาสละกรรมสิทธิ์แล้ว แหวนทองนั้นจึงเป็นสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของตามหลักกฎหมายข้อที่ 1

สมศรีเข้าไปค้นหาจนพบแหวนทองนั้น จึงถือได้ว่าสมศรีได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์แห่งแหวนทองนั้นซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์อันไม่มีเจ้าของ โดยเข้าถือเอา ตามหลักกฎหมายข้อ 2. สุดสวยเป็นผู้รับซื้อแหวนทองนั้นจากสมศรีผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ สุดสวยจึงได้กรรมสิทธิ์ในแหวนทองนั้นโดยชอบ

ฉะนั้น สุดสวยจึงมีข้อต่อสู้ตามหลักกฎหมายดังกล่าว

ไม่มีความคิดเห็น: