วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2551

ศาลชำนัญพิเศษ

เป็นศาลชั้นต้นที่ใช้วิธีพิจารณาพิเศษตามแตกต่างจากศาลชั้นต้นทั่วไป โดยผู้พิพากษาศาลชำนัญพิเศษจะเป็นผู้พิพากษาที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ โดยเฉพาะ

ศาลในกลุ่มนี้บางศาล เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลล้มละลาย และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มีบุคคลภายนอกที่มิใช่ผู้พิพากษาแต่มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาสมทบเข้ามาร่วมพิจารณาและพิพากษาคดีด้วย

เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว หากโจทก์-จำเลยไม่พอใจ ก็สามารถอุทธรณ์ได้ แต่ต้องอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา เพราะเป็นคดีที่พิเศษไปจากคดีทั่วไป โดยศาลฎีกาจะแบ่งแผนกเป็นแผนกคดีล้มละลาย แผนกคดีคดีภาษีอากร แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว แผนกคดีแรงงาน แผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเป็นต้น

1 ความคิดเห็น:

pookpui กล่าวว่า...

อยากทราบว่า
ทำไมประเทศไทยถึงต้องมีศาลมากมายขนาดนี้ทั้ง
ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลเยาวชน ศาลล้มละลาย ศาลทรัพย์สินทางปัญญา และก็อื่นๆอีก