สาธารณสมบัติของแผ่นดิน คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น
(1) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินที่มีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดิน โดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน
(2) ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ
(3) ทรัพย์สินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่า ป้อมและโรงทหาร สำนักราชการบ้านเมือง เรือรบ อาวุธยุทธภัณฑ์
ผลของการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ก) จะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งกฎหมายเฉพาะให้โอนกันได้
ข) ห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดิน เช่น ผู้ใดครอบครองป่าสงวนมาเป็นเวลา 90 ปีแล้วจะยกขึ้นต่อสู้ว่าตนได้ครอบครองปรปักษ์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินขึ้นต่อสู้กับรัฐบาลเมื่อถูกรัฐฟ้องขับไล่ไม่ได้
ค) ห้ามมิให้ยึดทรัพย์สินของแผ่นดิน
วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551
วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2551
ศาลชำนัญพิเศษ
เป็นศาลชั้นต้นที่ใช้วิธีพิจารณาพิเศษตามแตกต่างจากศาลชั้นต้นทั่วไป โดยผู้พิพากษาศาลชำนัญพิเศษจะเป็นผู้พิพากษาที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ โดยเฉพาะ
ศาลในกลุ่มนี้บางศาล เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลล้มละลาย และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มีบุคคลภายนอกที่มิใช่ผู้พิพากษาแต่มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาสมทบเข้ามาร่วมพิจารณาและพิพากษาคดีด้วย
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว หากโจทก์-จำเลยไม่พอใจ ก็สามารถอุทธรณ์ได้ แต่ต้องอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา เพราะเป็นคดีที่พิเศษไปจากคดีทั่วไป โดยศาลฎีกาจะแบ่งแผนกเป็นแผนกคดีล้มละลาย แผนกคดีคดีภาษีอากร แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว แผนกคดีแรงงาน แผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเป็นต้น
ศาลในกลุ่มนี้บางศาล เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลล้มละลาย และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มีบุคคลภายนอกที่มิใช่ผู้พิพากษาแต่มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาสมทบเข้ามาร่วมพิจารณาและพิพากษาคดีด้วย
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว หากโจทก์-จำเลยไม่พอใจ ก็สามารถอุทธรณ์ได้ แต่ต้องอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา เพราะเป็นคดีที่พิเศษไปจากคดีทั่วไป โดยศาลฎีกาจะแบ่งแผนกเป็นแผนกคดีล้มละลาย แผนกคดีคดีภาษีอากร แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว แผนกคดีแรงงาน แผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเป็นต้น
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
ก่อนที่จะพูดเรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ .. ผมของอธิบายบางเรื่องที่มีความเกี่ยวเนื่องสักนิดนึงครับ
ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น จะมีเรื่องเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาว่าด้วยการจ้างแรงงาน โดยได้ให้ความหมายของการจ้างแรงงานว่า
"อันว่าจ้างแรงงานนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่านายจ้างและนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้"
ตรงคำว่า "สินจ้าง" ที่น ายจ้าง เป็นผู้จ่ายให้กับ ลูกจ้าง นั้น ภาษาชาวบ้านเค้าเรียกกันว่า ค่าจ้าง ซึ่งก็มีความหมายทำนองเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ลูกจ้างตกอยู่ในฐานะที่เป็นฝ่ายเสียเปรียบ เพราะถ้าจะต่อรองอะไรมาก นายจ้างก็ไล่ออกสถานเดียว ทำให้ ลูกจ้างไม่มีอำนาจต่อรอง
รัฐจึงพยายามคิดกระบวนการคุ้มครอง ออกมาในรูปของกฎหมาย
กฎหมายที่ว่านั่นก็คือ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
กฎหมายคุ้มครองแรงงานนั้น ชื่อก็บอกแล้วคุ้มครองแรงงาน ซึ่งก็คือลูกจ้างนั่นเอง
เจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าว ต้องการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำ Minimun Standard ให้นายจ้างปฏิบัติกับลูกจ้างของตน
หนึ่งในนั้นก็คือ เรื่องค่าจ้าง ---> โดยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำนั้น คือ 148บาทต่อวัน ในส่วนกรุงเทพและปริมณฑล อัตราค่าจ้างขั้นต่ำคือ 203 บาทต่อวัน (เริ่ม 1 มิถุนายน พ.ศ.2551
ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น จะมีเรื่องเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาว่าด้วยการจ้างแรงงาน โดยได้ให้ความหมายของการจ้างแรงงานว่า
"อันว่าจ้างแรงงานนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่านายจ้างและนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้"
ตรงคำว่า "สินจ้าง" ที่น ายจ้าง เป็นผู้จ่ายให้กับ ลูกจ้าง นั้น ภาษาชาวบ้านเค้าเรียกกันว่า ค่าจ้าง ซึ่งก็มีความหมายทำนองเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ลูกจ้างตกอยู่ในฐานะที่เป็นฝ่ายเสียเปรียบ เพราะถ้าจะต่อรองอะไรมาก นายจ้างก็ไล่ออกสถานเดียว ทำให้ ลูกจ้างไม่มีอำนาจต่อรอง
รัฐจึงพยายามคิดกระบวนการคุ้มครอง ออกมาในรูปของกฎหมาย
กฎหมายที่ว่านั่นก็คือ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
กฎหมายคุ้มครองแรงงานนั้น ชื่อก็บอกแล้วคุ้มครองแรงงาน ซึ่งก็คือลูกจ้างนั่นเอง
เจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าว ต้องการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำ Minimun Standard ให้นายจ้างปฏิบัติกับลูกจ้างของตน
หนึ่งในนั้นก็คือ เรื่องค่าจ้าง ---> โดยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำนั้น คือ 148บาทต่อวัน ในส่วนกรุงเทพและปริมณฑล อัตราค่าจ้างขั้นต่ำคือ 203 บาทต่อวัน (เริ่ม 1 มิถุนายน พ.ศ.2551
ระบบศาลโลก
เดิมระบบศาลของประเทศไทยเป็น "ระบบศาลเดี่ยว" คือ มีศาลยุติธรรมแต่เพียงศาลเดียวที่มี อำนาจพิจารณาคดีทุกประเภทและมีศาลฎีกาเป็นศาลยุติธรรมสูงสุด
ต่อมาเมื่อได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 40 ซึ่งกำหนดให้มี "ศาลปกครอง" แยกต่างหากจากศาลยุติธรรม จึงทำให้ระบบศาลของประเทศไทยกลายเป็น "ระบบศาลคู่"
มาพิจารณาถึงความหมายที่แท้จริงของศาลเดี่ยวและศาลคู่กันดีกว่าครับ
1.ระบบศาลเดี่ยว
ได้แก่ ระบบศาลของประเทศที่ไม่มีการแบ่งแยกกฎหมายและศาล คือ ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดคดีต่างๆทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง หรือคดีประเภทอื่น ประเทศที่ใช้ระบบนี้จะได้แก่ ประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์แบบเดียวกับประเทศอังกฤษ รวมทั้งประเทศไทยก่อนที่จะประกาศใช้รัฐธรรมนูญปัจจุบัน
2.ระบบศาลคู่
ได้แก่ ระบบศาลของประเทศที่ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดคดีแพ่งและคดีอาญาเท่านั้น ส่วนการวินิจฉัยชี้ขาดคดีปกครองนั้นอยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลปกครองซึ่งมีระบบศาลและระบบผู้พิพากษาแยกต่างหากจากระบบศาลและระบบผู้พิพากษาของศาลยุติธรรม ประเทศที่ใช้ระบบนี้จะได้แก่ ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเบลเยี่ยม
ดังนั้น เมื่อรัฐธรรมฉบับปัจจุบันได้บัญญัติให้มีศาลปกครองขึ้นแยกต่างหากจากศาลยุติธรรม ดังนั้น ประเทศไทยจึงกลายเป็นประเทศที่ใช้ระบบศาลคู่
ต่อมาเมื่อได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 40 ซึ่งกำหนดให้มี "ศาลปกครอง" แยกต่างหากจากศาลยุติธรรม จึงทำให้ระบบศาลของประเทศไทยกลายเป็น "ระบบศาลคู่"
มาพิจารณาถึงความหมายที่แท้จริงของศาลเดี่ยวและศาลคู่กันดีกว่าครับ
1.ระบบศาลเดี่ยว
ได้แก่ ระบบศาลของประเทศที่ไม่มีการแบ่งแยกกฎหมายและศาล คือ ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดคดีต่างๆทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง หรือคดีประเภทอื่น ประเทศที่ใช้ระบบนี้จะได้แก่ ประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์แบบเดียวกับประเทศอังกฤษ รวมทั้งประเทศไทยก่อนที่จะประกาศใช้รัฐธรรมนูญปัจจุบัน
2.ระบบศาลคู่
ได้แก่ ระบบศาลของประเทศที่ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดคดีแพ่งและคดีอาญาเท่านั้น ส่วนการวินิจฉัยชี้ขาดคดีปกครองนั้นอยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลปกครองซึ่งมีระบบศาลและระบบผู้พิพากษาแยกต่างหากจากระบบศาลและระบบผู้พิพากษาของศาลยุติธรรม ประเทศที่ใช้ระบบนี้จะได้แก่ ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเบลเยี่ยม
ดังนั้น เมื่อรัฐธรรมฉบับปัจจุบันได้บัญญัติให้มีศาลปกครองขึ้นแยกต่างหากจากศาลยุติธรรม ดังนั้น ประเทศไทยจึงกลายเป็นประเทศที่ใช้ระบบศาลคู่
คดีดำ และ คดีแดง หมายถึงอะไร
คดีดำ หรือ คดีหมายเลขดำ หมายถึง คดีที่ยังมีการพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้น (ยังไม่มีการตัดสิน) โดยเมื่อมีการฟ้องคดีในศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นจะมีการออกหมายเลข คดีดำให้ เช่น คดีหมายเลขดำที่ 1234/2543หมายถึง คดีที่ฟ้องในลำดับที่ 1234 ใน ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้น
คดีแดง หรือ คดีหมายเลขแดง หมายถึง คดีที่ศาลชั้นต้นได้มีการตัดสินแล้ว เมื่อศาลชั้นต้น มีการตัดสินคดีใดแล้ว ก็จะมีการออกหมายเลขคดีแดงให้ เช่น คดีหมายเลขแดงที่ 1234/2543ซึ่งหมายถึง คดีที่ศาลชั้นต้น ได้มีการตัดสิน ในลำดับที่ 1234 ในปี 2543 เป็นต้น
คดีแดง หรือ คดีหมายเลขแดง หมายถึง คดีที่ศาลชั้นต้นได้มีการตัดสินแล้ว เมื่อศาลชั้นต้น มีการตัดสินคดีใดแล้ว ก็จะมีการออกหมายเลขคดีแดงให้ เช่น คดีหมายเลขแดงที่ 1234/2543ซึ่งหมายถึง คดีที่ศาลชั้นต้น ได้มีการตัดสิน ในลำดับที่ 1234 ในปี 2543 เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)